การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์ในอนาคตดิฉันคิดว่า จะเป็นการพัฒนาการนำเสนอผลงานที่มีการสื่อสารออกมาให้ง่ายและชัดเจนต่อความเข้าใจของผู้รับสาร อีกทั้งยังสามารถนำเสนอผลงานสื่อสารกันได้ทั่วโลกโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละมากๆ สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้รับสาร จากจำนวนผู้ใช้เครื่อข่ายสังคมออนไลน์เช่น เฟชบุ๊ค (facebook) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการสื่อสารโต้ตอบกันได้ในทันทีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สมาชิกทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสื่อสารในฐานะเป็นผู้ส่งสารได้ จนเกิดเหตุการณ์ที่มีกลุ่มผู้ใช้เฟสบุ๊คนัดรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องทางการเมือง คนรุ่นใหม่จะใช้สื่อใหม่แทนสื่อกระแสหลัก ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อการสร้างการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ และในวันนี้ดิฉันขอยกตัวอย่างการสื่อสารที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนไปสู่อนาคต ซึ่งเริ่มมีออกมาเผยแพร่ข้อมูลกันบ้างแล้วนั่นคือ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย 4G แต่ในประเทศไทยของเรานั่นยังไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้เช่นเดียวกับหลายๆประเทศทั่วโลก
Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ”
การสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้ประมาณสองปี และขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ 4G
สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่ง แสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G

4G (สี่จี หรือ โฟร์จี) กล่าวถึงมาตรฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นรุ่นมาตรฐานที่ต่อจาก 3G และ 2G โดยความหมายของคำว่า 4G นั้นมีการกล่าวถึงในหลายความหมาย โดยความหมายที่นิยมในปัจจุบันจะอ้างอิงถึง IMT Advanced ที่กำหนดโดยไอทียู ที่มีข้อกำหนดว่า อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลต้องมีค่าข้อมูลสูงสุดที่ 100 Mbit/s ในช่วง high mobility และ 1 Gbit/s ในช่วง low mobility
แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์ในอนาคตดิฉันคิดว่า จะเป็นการพัฒนาการนำเสนอผลงานที่มีการสื่อสารออกมาให้ง่ายและชัดเจนต่อความเข้าใจของผู้รับสาร อีกทั้งยังสามารถนำเสนอผลงานสื่อสารกันได้ทั่วโลกโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละมากๆ สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้รับสาร จากจำนวนผู้ใช้เครื่อข่ายสังคมออนไลน์เช่น เฟชบุ๊ค (facebook) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการสื่อสารโต้ตอบกันได้ในทันทีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สมาชิกทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสื่อสารในฐานะเป็นผู้ส่งสารได้ จนเกิดเหตุการณ์ที่มีกลุ่มผู้ใช้เฟสบุ๊คนัดรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องทางการเมือง คนรุ่นใหม่จะใช้สื่อใหม่แทนสื่อกระแสหลัก ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อการสร้างการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ และในวันนี้ดิฉันขอยกตัวอย่างการสื่อสารที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนไปสู่อนาคต ซึ่งเริ่มมีออกมาเผยแพร่ข้อมูลกันบ้างแล้วนั่นคือ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย 4G แต่ในประเทศไทยของเรานั่นยังไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้เช่นเดียวกับหลายๆประเทศทั่วโลก
Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ”

สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่ง แสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G

4G (สี่จี หรือ โฟร์จี) กล่าวถึงมาตรฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นรุ่นมาตรฐานที่ต่อจาก 3G และ 2G โดยความหมายของคำว่า 4G นั้นมีการกล่าวถึงในหลายความหมาย โดยความหมายที่นิยมในปัจจุบันจะอ้างอิงถึง IMT Advanced ที่กำหนดโดยไอทียู ที่มีข้อกำหนดว่า อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลต้องมีค่าข้อมูลสูงสุดที่ 100 Mbit/s ในช่วง high mobility และ 1 Gbit/s ในช่วง low mobility
ในปัจจุบัน เทคโนโลยี LTE มักจะถูกเรียกแทน "4G" (หรือบางครั้ง "3.9G") แม้กระนั้นมาตรฐาน LTE ในปี 2552 ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของทาง "IMT-Advanced" ซึ่งทางไอทียูได้มีการแนะนำ LTE Advanced สำหรับเรียกแทน 4G ที่แท้จริง
ในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนา IEEE 802.16m WiMax สำหรับพัฒนาเป็น 4G เช่นกัน
ในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนา IEEE 802.16m WiMax สำหรับพัฒนาเป็น 4G เช่นกัน
การพัฒนา
ในสวีเดนและนอร์เวย์ ได้มีการเปิดตัว 4G โดยใช้เทคโนโลยี LTE
ในอเมริกา สปรินต์ได้เรียกระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ WiMax ว่า 4G โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 10 Mbit/s
ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TeliaSonera จากสวีเดน ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ 4 หรือ 4G ที่ใช้เทคโนโลยี LTE แล้ว โดยเริ่มจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์
บริษัทได้กล่าวว่า จะเริ่มให้ลูกค้าได้ใช้เครือข่ายนำร่องนี้ในไตรมาสแรกของปี 2010
โดยสรุปแล้ว แรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G มีดังนี้ คือ
• ความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูง ๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full-motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย
• มาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย แต่เราต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก
• นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการส่งคลื่นทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า 10 Mbps ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของ 3G
• ระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมาก และมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การพัฒนาระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่น
คือในธุรกิจ Mobile Commerce นั่นเอง
ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับสื่อ มัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ตัวอย่างเช่น คุณ อาจดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาไว้ในรถยนต์ ก่อนออกเดินทางไกล เพื่อว่าจะได้มีหนังดีๆ รวมทั้งข้อมูลการท่องเที่ยวไว้ดูบ้างในระหว่างเดินทาง นั่นคือธุรกิจ Software house และ ธุรกิจเกี่ยวกับการสร้าง Content ในระดับ SME ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีโอกาสในธุรกิจสื่อมัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก
ลองนึกภาพ การที่คุณสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อซื้อน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกันสั่งซื้ออัลบั้มเพลงล่าสุดและดาวน์โหลดลงเครื่อง เล่น MP3ได้โดยตรงหรือการที่นักท่องเที่ยวสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อหาจองโรงแรมที่ใกล้ที่สุด และราคาเหมาะสมที่สุดขณะที่นั่งรถแท็กซี่
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถชมภาพวิดีโอกันแบบสดๆได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD ตามการเปิดเผยของซัมซุงฯ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ทางซัมซุงฯได้เพิ่มบุคลากรในแผนกอาร์แอนด์ดี ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ 4G แล้ว
มีการคาดหวังถึงความสะดวกสบายและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อบริการ M-Commerce บนระบบ 4G จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย ทำให้เกิดแนวคิดมากมายในการทำ M-Commerce เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายข้อมูลออกไปในระยะใกล้ โดยมีเป้าหมายคือผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเดินผ่านร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คุณอาจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ๆ ที่มีจำหน่ายในร้าน และคุณก็สามารถที่จะตรวจสอบราคาสินค้า เปรียบเทียบราคากับร้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด หรือเมื่อคุณนั่งรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยว โทรศัพท์เคลื่อนที่4G ของคุณก็จะได้รับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ของบริเวณนั้นบนจอของคุณ อีกทั้งข้อความโฆษณาของโรงแรมหรือที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว นั้น ๆ เป็นต้น
ขณะนี้ ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หวังสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดย ชูคุณสมบัติเด่น รับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ “ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขี้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก
จะเห็นได้ว่าตอนนี้เหล่า ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนักพัฒนาเริ่มตื่นตัวกับเทคโนโลยีใหม่กันแล้ว และดูเหมือนการแข่งขันที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่า 3G มาก จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอีกแล้ว แต่น่าจะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวแบบก้าวกระโดด จนธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอาจปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
ในสวีเดนและนอร์เวย์ ได้มีการเปิดตัว 4G โดยใช้เทคโนโลยี LTE
ในอเมริกา สปรินต์ได้เรียกระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ WiMax ว่า 4G โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 10 Mbit/s
ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TeliaSonera จากสวีเดน ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ 4 หรือ 4G ที่ใช้เทคโนโลยี LTE แล้ว โดยเริ่มจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์
บริษัทได้กล่าวว่า จะเริ่มให้ลูกค้าได้ใช้เครือข่ายนำร่องนี้ในไตรมาสแรกของปี 2010
โดยสรุปแล้ว แรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G มีดังนี้ คือ
• ความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูง ๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full-motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย
• มาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย แต่เราต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก
• นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการส่งคลื่นทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า 10 Mbps ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของ 3G
• ระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมาก และมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การพัฒนาระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่น

ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับสื่อ มัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ตัวอย่างเช่น คุณ อาจดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาไว้ในรถยนต์ ก่อนออกเดินทางไกล เพื่อว่าจะได้มีหนังดีๆ รวมทั้งข้อมูลการท่องเที่ยวไว้ดูบ้างในระหว่างเดินทาง นั่นคือธุรกิจ Software house และ ธุรกิจเกี่ยวกับการสร้าง Content ในระดับ SME ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีโอกาสในธุรกิจสื่อมัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก
ลองนึกภาพ การที่คุณสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อซื้อน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกันสั่งซื้ออัลบั้มเพลงล่าสุดและดาวน์โหลดลงเครื่อง เล่น MP3ได้โดยตรงหรือการที่นักท่องเที่ยวสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อหาจองโรงแรมที่ใกล้ที่สุด และราคาเหมาะสมที่สุดขณะที่นั่งรถแท็กซี่
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถชมภาพวิดีโอกันแบบสดๆได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD ตามการเปิดเผยของซัมซุงฯ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ทางซัมซุงฯได้เพิ่มบุคลากรในแผนกอาร์แอนด์ดี ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ 4G แล้ว
มีการคาดหวังถึงความสะดวกสบายและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อบริการ M-Commerce บนระบบ 4G จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย ทำให้เกิดแนวคิดมากมายในการทำ M-Commerce เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายข้อมูลออกไปในระยะใกล้ โดยมีเป้าหมายคือผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเดินผ่านร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คุณอาจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ๆ ที่มีจำหน่ายในร้าน และคุณก็สามารถที่จะตรวจสอบราคาสินค้า เปรียบเทียบราคากับร้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด หรือเมื่อคุณนั่งรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยว โทรศัพท์เคลื่อนที่4G ของคุณก็จะได้รับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ของบริเวณนั้นบนจอของคุณ อีกทั้งข้อความโฆษณาของโรงแรมหรือที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว นั้น ๆ เป็นต้น
ขณะนี้ ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หวังสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดย ชูคุณสมบัติเด่น รับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ “ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขี้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก
จะเห็นได้ว่าตอนนี้เหล่า ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนักพัฒนาเริ่มตื่นตัวกับเทคโนโลยีใหม่กันแล้ว และดูเหมือนการแข่งขันที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่า 3G มาก จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอีกแล้ว แต่น่าจะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวแบบก้าวกระโดด จนธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอาจปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น